วิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม
“เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ โครงสร้างพื้นฐานทั่วถึง คำนึงคุณภาพชีวิต ลดวิกฤตสิ่งแวดล้อม”
พันธกิจ
1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
2. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
3. การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดี
6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการท่องเที่ยว และการจัดกาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
7. การสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลัง โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเงินการคลังให้สอดรับกับอำนาจหน้าที่และ ภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับโอนจากการกระจายอำนาจจากรัฐบาล
8. การเพิ่มศักยภาพของผังเมืองให้เป็นเครื่องมือชี้นำและสนับสนุนการพัฒนา เมืองอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาด้านอื่นๆ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา .
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านการคมนาคมสะดวก
แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเป็นระบบเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
๒. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุง รักษาถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำและจัดระบบการคมนาคมให้เป็นระเบียบปลอดภัย
๓. จัดทำป้ายบอกเส้นทาง ไหล่ทาง สัญญาณไฟบริเวณทางแยกต่างๆ และย่านชุมชน
๔. ก่อสร้าง/ขยายเขต/ปรับปรุง/ระบบไฟฟ้า/ระบบประปา
กลยุทธ์
ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความ จำเป็นและความต้องการของประชาชน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง
เป้าประสงค์
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความพร้อมให้บริการ
ตัวชี้วัด
โครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาร้อยละ 70
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านประชาชนมีคุณภาพ
แนวทางการพัฒนา
๑. ส่งเสริมด้านการศึกษา การสาธารณสุข
๒. จัดให้มีความมั่นคงปลอดภัย ปลอดจากยาเสพติด ปลอดผู้มีอิทธิพล
๓. อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา
๔. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
๖. แก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้
๗. สนับสนุนสวัสดิการเด็ก เยาวชน สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
๘. พัฒนาด้านการบริการพื้นฐาน
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา ครู นักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน
2. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ และปัญหาผู้มีอิทธิพล
3. พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น โดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
4. ส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น
5. ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ให้มีสุขภาพแข็งแรง
6. ส่งเสริม พัฒนา ปรับปรุง อุปกรณ์กีฬา สถานที่ออกกำลังกาย และโครงการกีฬาต่างๆ ทั้งระดับหมู่บ้าน และระดับตำบล
เป้าประสงค์
พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นร้อยละ 80
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการเกษตร
แนวทางการพัฒนา
๑. การพัฒนาด้านการเกษตร
๒. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. พัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรมครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่
๔. ส่งเสริมให้มีตลาดเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายสินค้าการเกษตร
๕. พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานให้สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดปี
กลยุทธ์
1. พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่ายและเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มช่องทางตลาด
2. พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
3. พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน จัดทำระบบกำจัดขยะรวม และจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
เป้าประสงค์
พัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาร้อยละ 70
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
แนวทางการพัฒนา
๑. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
๒. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. จัดสถานที่รักษาพยาบาลแก่นักท่องเที่ยวให้มีความพร้อมทุกด้าน
กลยุทธ์
1. การสงวนรักษา ฟื้นฟู ควบคุมดูแลทรัพยากรในระบบนิเวศให้คงสภาพไว้ เพื่อสามารถนำมาเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวได้นานที่สุด หรือตลอดไป
2. เจ้าของพื้นที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว สถาบันต่างๆ ในสังคม องค์กรประชาชน และประชาชนในท้องถิ่น ต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์ รักษาสภาพ ไม่ทำลาย หรือสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการการท่องเที่ยวนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม และมีความกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เส้นทางคมนาคมเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางศึกษาธรรมชาติ การบริการที่พัก การบริการอาหาร และเครื่องดื่ม
เป้าประสงค์
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานในการยกระดับการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด
ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจร้อยละ 80
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ
แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนาบุคลากร ปรับปรุงเครื่องมือ – เครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติราชการ
๒. บริหารจัดการด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
๓. รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนตื่นตัวถึงความสำคัญของการปกครองระบบประชาธิปไตย
๔. รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ ความต้องการการแก้ปัญหาประเมินผล/ตรวจสอบได้
๕. สนับสนุนให้มีการประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลยุทธ์
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
3. ให้ความรู้ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน พัฒนาท้องถิ่น และความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เป้าประสงค์
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัด
ความพึงพอใจของประชาชนในการบริการและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
ค่าเป้าหมาย
๑. การคมนาคมสะดวก
๒. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
๓. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ตามแนวธรรมาภิบาล
๔. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
๕. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
๖. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
๗. ประชาชนมีสุขภาพดี
๘. พัฒนาและจัดการด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
๙. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
๑๐. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑๑. ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการดูแล
ข้อมูลทั่วไป - ข้อมูลพื้นฐาน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม
|
|
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ลิขสิทธิ์ © 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.